วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2558

ช่างเทคนิคเครื่องยนต์-ช่างประกอบเครื่องกล-Machinery-

ปฏิบัติงานในลักษณะผู้ควบคุมงานโดยทำงานภายใต้การแนะนำ และควบคุมของวิศวกรเครื่องกลรถยนต์
ปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับการออกแบบ ติดตั้ง ซ่อมบำรุง ตรวจสอบ และวิเคราะห์ระบบเครื่องยนต์เล็ก/ใหญ่ ระบบไฟฟ้าในยานยนต์ ระบบส่งกำลัง ระบบช่วงล่างรถยนต์ ระบบการทำงานเครื่องมือ เครื่องจักรที่ ควบคุมด้วยนิวเมติกส์ และไฮดรอลิกส์ (นอกจากนี้มีงานพิเศษเฉพาะอย่าง เช่น ระบบเครื่องยนต์เรือ ระบบเครื่องยนต์ และเครื่องกลการเกษตร และระบบเครื่องจักรกลไอน้ำ)
ควบคุมการประกอบชิ้นส่วนต่างๆ เช่น ระบบจุดระเบิด เครื่องกำเนิดไฟฟ้า(ไดนาโม) กระปุกเฟือง พวงมาลัย กระปุกเกียร์ และห้ามล้อ
ควบคุมการประกอบชิ้นส่วนต่างๆ เช่น ระบบจุดระเบิด เครื่องกำเนิดไฟฟ้า(ไดนาโม) กระปุกเฟือง พวงมาลัย กระปุกเกียร์ และห้ามล้อ
ตรวจสอบระบบที่ติดตั้ง รวมทั้งระบบส่งถ่ายกำลัง ตรวจสอบข้อต่อต่างๆ
ตรวจสอบเครื่องยนต์ และปรับเท่าที่จำเป็นเพื่อให้เครื่องยนต์ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
อาจให้บริการ และซ่อมเครื่องยนต์ และอุปกรณ์เพื่อให้คงอยู่ในสภาพที่ทำงานได้ดี
สภาพการจ้างงาน
างเทคนิคเครื่องยนต์ ที่สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ที่ไม่มีประสบการณ์จะได้รับเงินเดือนโดยประมาณดังนี้
           วุฒิการศึกษา                           เงินเดือน
                                                 ราชการ          เอกชน
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ               4,700       4,500-5,500
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง      5,740       5,500-6,500

สำหรับงานเอกชนนั้น อัตราเงินเดือนขึ้นอยู่กับความสามารถ ความชำนาญงาน และวุฒิการศึกษาของแต่ละบุคคล นอกเหนือจากเงินเดือนและค่าจ้างประจำแล้ว อาจได้รับผลประโยชน์พิเศษอย่างอื่นในรูปของสวัสดิการต่างๆ เช่นค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร โบนัส บำเหน็จ บำนาญ
ผู้ปฏิบัติงานช่างเทคนิคเครื่องยนต์-ช่างประกอบเครื่องกล-Machinery-Technician-Machine-Assemblersทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง อาจจะต้องทำงานวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุด หรือต้องทำงานล่วงเวลา ในกรณีที่ต้องการให้งานติดตั้ง หรือซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ให้ทันการใช้งาน
ช่างเทคนิคเครื่องยนต์ สามารถประกอบอาชีพอิสระ เช่น รับซ่อม และประกอบเครื่องยนต์ หรือ รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ เช่น กรมโยธาธิการ กรมชลประทาน การประปาฯ การไฟฟ้า เป็นต้น
สภาพการทำงาน

วันพระ

วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ หรือ วันอุโบสถ หมายถึง วันประชุมของพุทธศาสนิกชนเพื่อปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาในพระพุทธศาสนาประจำสัปดาห์ หรือที่เรียกกันทั่วไปอีกคำหนึ่งว่า "วันธรรมสวนะ" อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยวันพระเป็นวันที่มีกำหนดตามปฏิทินจันทรคติ โดยมีเดือนละ 4 วัน ได้แก่ วันขึ้น 8 ค่ำ, วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ), วันแรม 8 ค่ำ และวันแรม 15 ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ)

วันพระนั้นเดิมเป็นธรรมเนียมของปริพาชกอัญญเดียรถีย์ (นักบวชนอกพระพุทธศาสนา) ที่จะประชุมกันแสดงธรรมทุก ๆ วัน 8 ค่ำ 15 ค่ำ ซึ่งในสมัยต้นพุทธกาล พระพุทธเจ้ายังคงไม่ได้ทรงวางระเบียบในเรื่องนี้ไว้ ต่อมาพระเจ้าพิมพิสารได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกราบทูลพระราชดำริของพระองค์ว่านักบวชศาสนาอื่นมีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนในศาสนาของเขา แต่ว่าพุทธศาสนายังไม่มี พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้มีการประชุมพระสงฆ์ในวัน 8 ค่ำ 15 ค่ำ และอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์ประชุมสนทนาและแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวันดังกล่าว โดยตามพระไตรปิฎกเรียกวันพระว่า วันอุโบสถ (วัน 8 ค่ำ) หรือวันลงอุโบสถ (วัน 14 หรือ 15 ค่ำ) แล้วแต่กรณี[1]

หลังจากนั้น พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันธรรมสวนะสืบมา โดยจะเป็นวันสำคัญที่พุทธศาสนิกชนจะไปประชุมกันฟังพระธรรมเทศนาจากพระสงฆ์ที่วัด ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่าได้มีประเพณีวันพระมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย[2]

วันพระในปัจจุบัน คงเหลือธรรมเนียมปฏิบัติอยู่แต่เฉพาะประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท เช่น ศรีลังกา, พม่า, ไทย, ลาว และเขมร (ในอดีตประเทศเหล่านี้ถือวันพระเป็นวันหยุดราชการ) โดยพุทธศาสนิกชนเถรวาทนับถือว่าวันนี้เป็นวันสำคัญที่จะถือโอกาสไปวัดเพื่อทำบุญถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์และฟังพระธรรมเทศนา สำหรับผู้ที่เคร่งครัดในพระพุทธศาสนาอาจถือศีลแปดหรือศีลอุโบสถในวันพระด้วย นอกจากนี้ชาวพุทธยังถือว่าวันพระไม่ควรทำบาปใด ๆ โดยเชื่อกันว่าการทำบาปหรือไม่ถือศีลห้าในวันพระถือว่าเป็นบาปมากกว่าในวันอื่น

ในประเทศไทย หลังจากวันพระได้ถูกยกเลิกไม่ให้เป็นวันหยุดราชการ ทำให้วันพระที่กำหนดวันตามปฏิทินจันทรคติส่วนใหญ่ไม่สอดคล้องกับปฏิทินที่ใช้กันอยู่ทั่วไป (เช่น วันพระไปตรงกับวันทำงานปกติ) ซึ่งคือหนึ่งในสาเหตุสำคัญในปัจจุบันที่ทำให้พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยห่างจากการเข้าวัดเพื่อทำบุญในวันพระ

นอกจากนี้ ในประเทศไทยยังมีคำเรียกวันก่อนวันพระหนึ่งวันว่า วันโกน เพราะปกติในวันขึ้น 14 ค่ำปกติ ก่อนวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เป็นธรรมเนียมของพระสงฆ์ในประเทศไทยที่จะโกนผมในวันนี้


โปรไฟล์




ชื่อ ชลสิทธิ์ กองแก้ว ม.3/4 เลขที่7
ชอบกินขนม
ชอบเล่นเกม
แม่ผมขายอาหารตามสั่ง
ชอบสีม่วง
โรงเรียนวัดราชโอรส
ผมเกิดวันที่9กันยายน2000
ชื่อเล่นแก้ว
ชอบเรียนทำอาหาร